เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย The Continent เป้าหมาย(Understanding Goals) :
- เข้าใจและยอมรับถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาวัฒนธรรม และเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันในสังคมโลกอย่างสันติสุข
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภารดรภาพและยอมรับความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง
- เข้าใจลักษณะทางกายภาพของแต่ละแห่งของโลกและเห็นความสัมพันธ์ของลักษณะทาง กายภาพกับการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร
- เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น เรียนรู้เรื่องราวในอดีตเพื่อนำไปสู่ความอ่อนน้อมต่อบุคคลและสรรพสิ่ง
- เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและมี อยู่อย่างจำกัด สามารถจัดสรรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
- เข้าใจบทบาทของตัวละคร เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมโลก

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

 Mind Mapping :



Big Questions :


          นักเรียนจะปรับตัวใช้ชีวิตในสังคมที่มีความขัดแย้ง ความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ เชื้อชาติ ศาสนา อย่างภราดรภาพได้อย่างไร

ภูมิหลังของปัญหา:
              ก่อนยุคเกษตรกรรมมนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีที่ทำกินพออยู่พอกิน อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มหาได้ง่ายจากการพึ่งพาธรรมชาติ และเกื้อกูลกันในกลุ่มญาติมิตร หลังจากย่างเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมอัตราการเพิ่มของประชากรมากขึ้น ความต้องการใช้ปัจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น สังคมใหญ่และกว้างแต่วิถีชีวิตครอบครัวกกลับกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวที่ต่าง คนต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ลดลง  ความต้องการเป็นที่ยอมรับ มีเกียรติ มีชื่องเสียง ส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น สงครามทางศาสนา ผู้นำ เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การแย่งสิทธิครอบครอง ฯลฯ ที่มุ่งสู่ความขัดแย้งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
      จากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น นักเรียนชั้นป.6 จึงมีความสนใจอยากเรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณี ศาสนา เชื้อชาติ  ทั่วทุกทวีปในสังคมโลก ที่ส่งผลจากอดีตสู่ปัจจุบันเพื่อการปรับตัวใช้ชีวิตอยู่บนฐานของความจริง เคารพในความแตกต่างได้อย่างภราดรภาพ


รวมไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ตารางวิเคราะห์มาตรฐานกับตัวชี้วัด




ปฏิทินการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
Topic :  The Continent ” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2557
สัปดาห์
สาระสำคัญ(เป้าหมาย)
เนื้อหา / กิจกรรม
ภาระงาน / ชิ้นงาน
สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1
19 – 23 .. 2557
โจทย์ : สิ่งที่อยากเรียนรู้
Key  Questions :
- นักเรียนชอบรับประทานทานอาหารชนิดใดบ้าง ทำไมถึงชอบ
- นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารที่ชอบทานมีประโยชน์จริง

กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ/สร้างแรงบันดาลใจ
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนประทับใจช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- ตั้งคำถามชวนคิด เช่น
 1. นักเรียนชอบรับประทานทานอาหารชนิดใดบ้าง ทำไมถึงชอบ
 2. นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารที่ชอบทานมีประโยชน์จริง
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด การฟังในแนวลึก(จับคู่สนทนา ครั้งละ 5 นาที และเปลี่ยน ประมาณ 3 ครั้ง)
- นักเรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ อาหารที่ตนเองชอบรับประทานและสรุปความเข้าใจในรูปแบบ Flow Chart
- แบ่งกลุ่มนักเรียนเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ลงในกระดาษบรู๊ฟ Show and Share แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- เลือกหัวข้อที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1

ชิ้นงาน
- วิเคราะห์อาหารที่ตนเองชอบรับประทานในรูปแบบ Flow Chart
- หัวข้อโครงงาน PBL
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1

ภาระงาน
- การคิดวิเคราะห์และตอบคำถามสิ่งที่ได้ฟัง
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และแสดงความคิดเห็น
- การนำเสนอหัวข้อที่ตนเองอยากเรียนรู้
- เรื่องเล่าช่วงปิดเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- กระดาษบรู๊ฟ
- สีเมจิก

2
26 – 30 .. 2557
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
- นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับหัวข้อที่ตนเองอยากเรียนรู้
กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- ตั้งชื่อโครงงาน
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ทำปฏิทินการเรียนรู้  10 สัปดาห์
- เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- จัดบรรยากาศในชั้นเรียน เช่น วาดภาพตกแต่งหน้าห้อง จัดมุมหนังสือ จัดบอร์ด เป็นต้น
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2

ชิ้นงาน
- ชื่อโครงงาน / Mind Mapping ก่อนเรียน
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2

ภาระงาน
- การวางแผนการทำปฏิทินการเรียนรู้
- การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
- การนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
- กระดาษบรู๊ฟ/กระดาษชาร์ตสี(แข็ง)
- สี/ปากกาเคมี
- ห้องสมุด
- บรรยากาศในห้องเรียน

3
2 – 6 มิ.. 2557
โจทย์ : ประวัติศาสตร์ประเทศไทย
Key  Questions
- ทำไมต้องเรียนประวัติศาสตร์
- ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์และความเป็นมาอย่างไร



- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนคิดว่า ทำไมต้องเรียนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์สำคัญอย่างไร
- ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- แบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่มค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย เช่น
1. ระบบเศรษฐกิจ
2. การปกครอง
3.วัฒนธรรมและประเพณี
4.สงครามและความขัดแย้ง
5. ศาสนาและความเชื่อ
- ครูใช้คำถาม กระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนการทำงานอย่างไรให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มเกิดการเรียนรู้ละสามารถทำงานได้เสร็จตามเวลาที่กำหนด”
- นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำงานตามที่วางแผน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลจากการค้นคว้ามาจัดกระทำในรูปแบบชาร์ต และนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3

ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบชาร์ต
- การนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3

ภาระงาน
- การค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบชาร์ตและการนำเสนอ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3

- กระดาษบรู๊ฟ
- สี / ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด


4
9 – 13 มิ.. 2557
โจทย์ : ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
Key  Questions
- ทำไมปัญหาความขัดแย้งในบางประเทศเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
- การเกิดสงครามและความขัดแย้งมีสาเหตุมาจากปัจจัยใดบ้างและมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
- เหตุการณ์ในอดีตส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคตอย่างไร
- นักเรียนใช้เครื่องมือ Black Board Share ในการระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน
- นักเรียนทุกคนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อคาดเดาเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยใดบ้าง
- นักเรียนจับคู่และจับฉลากเพื่อเลือกประเทศคู่กรณีที่เกิดข้อพิพาทหรือความขัดแย้งกัน เช่น ญี่ปุ่นกับจีน  ไทยกับกัมพูชา  เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้  สหรัฐอเมริกากับซีเรีย เวียดนามกับจีน เป็นต้น
- นักเรียนแต่ละคู่ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประเทศตามที่ได้จับฉลากเลือกและได้รับมอบหมาย
- นักเรียนแต่ละคู่นำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบต่างๆตามความสนใจ เช่น ชาร์ตความรู้ Mind Mapping ฯลฯและนำเสนอ
- ครูนำคลิปรายการพื้นที่ชีวิต ตอน รอยเลือดที่ระวันดา มาให้นักเรียนดูซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของคนภายในชาติเของประเทศระวันดา คือเผ่าฮูตูและตุสซี่ โดยมีรัฐบาลของประเทศเบลเยียมคอยชักใยอยู่เบื้องหลังเพราะมีผลประโยชน์เป็นสิ่งจูงใจ หลังจากนั้นนักเรียนสรุปความเข้าใจลงสมุด
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดว่า ถ้าปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นกับนักเรียน นักเรียนจะมีวิธีการจัดการอย่างไรโดยใช้เครื่องมือคิด Card and Chart
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4

ชิ้นงาน
- ปัญหาความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน(สมุดเล่มเล็ก)
- การนำเสนอปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่นกับจีน  ไทยกับกัมพูชา  เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้  เวียดนามกับจีน เป็นต้น
- สรุปความเข้าใจจากการดูรายการพื้นที่ชีวิต ตอน “รอยเลือดที่ระวันดา”
- Card and Chart วิธีจัดการปัญหาความขัดแย้ง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4

ภาระงาน
- การค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประเทศตามที่ได้จับฉลากเลือกและได้รับมอบหมาย
- การวางแผนการทำงานร่วมกัน
- ร่วมกิจกรรมวิธีจัดการปัญหาความขัดแย้ง ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart
- การนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- คลิปวีดีโอ “รอยเลือดที่ระวันดา”
- กระดาษบรู๊ฟ
- สี / ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด

5
16 – 20 มิ.. 2557
โจทย์ : ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
Key  Questions
- ทำไมปัญหาความขัดแย้งในสังคมจึงมีมากขึ้นและจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
- การลดความขัดแย้งมีวิธีไหนบ้างและจะสร้างสัมพันธภาพอย่างไร
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นักเรียนและครูร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคำถาม “ทำไมปัญหาความขัดแย้งในสังคมจึงมีมากขึ้นและจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
- ครูนำข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นประจำวันในสังคม มาให้นักเรียนอ่าน โดยให้นักเรียนจับกลุ่มวิเคราะห์ข่าว ในประเด็นต่างๆ เช่น จากข่าวที่อ่านนักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรบ้าง คิดว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไร  และจะมีวิธีการหรือแนวทางแก้ไขอย่างไร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลมาจัดกระทำในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น ชาร์ต Flow Chart และนำเสนอต่อคุณครูแลเพื่อนๆร่วมชั้นเรียน
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนการทำงานของแต่ละกลุ่ม
- นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้ง
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้งในรูปแบบ “บทความ”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

ชิ้นงาน
- วิเคราะห์ข่าวที่มีสาเหตุจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม
- ศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้งในรูปแบบ “บทความ”
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

ภาระงาน
- การวิเคราะห์ข่าวที่มีสาเหตุจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม
- การวางแผนการทำงาน
- การเตรียมการแสดง
- ข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นประจำวันในสังคม
- กระดาษบรู๊ฟ
- สี / ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต

6
23 – 27 มิ.. 2557
โจทย์ : ภูมิศาสตร์โลก
Key  Questions
- ทำไมพื้นที่ภาคเหนือจึงเกิดแผ่นดินไหว
- ทำไมบางประเทศจึงประสบปัญหาร้อนจัด หนาวจัด แห้งแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ

- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น “ ทำไมพื้นที่ภาคเหนือของไทยจึงเกิดแผ่นดินไหวและทำไมบางประเทศจึงประสบปัญหาร้อนจัด หนาวจัด แห้งแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ”
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากคำถาม
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่มและเลือกศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับทวีปต่างๆ ทั้ง 6 ทวีป คือ ทวีปเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอฟริกา
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการทำงานร่วมกัน ลงมือศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น ชาร์ต Flow Chart หรือ Mind Mapping
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น อธิบายผ่านชาร์ต การละครและบทบาทสมมติเป็นต้น
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับทั้ง 6 ทวีปในรูปแบบที่ตนเองสนใจ เช่น ชาร์ต หรือ Mind Mapping
- ครูตั้งคำถามชวนคิด เช่น ทำไมต้องมีการแบ่งประเทศและทำไมถึงมีหลายศาสนา
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- ถอดบทเรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้ AAR
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6

ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับทวีปต่างๆในรูปแบบต่างๆ เช่น ชาร์ต Flow Chart หรือ Mind Mapping (งานกลุ่ม/งานเดี่ยว)
- การนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น อธิบายผ่านชาร์ต การละครและบทบาทสมมติเป็นต้น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  6

ภาระงาน
- การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับทวีปต่างๆในรูปแบบต่างๆ เช่น ชาร์ต Flow Chart หรือ Mind Mapping (งานกลุ่ม/งานเดี่ยว)
- การวางแผนการทำงาน
- การนำเสนองาน
- การเปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(ถอดบทเรียน)


- ข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
 - กระดาษบรู๊ฟ
- สี / ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต

7
30 มิ.. – 4.. 2557
โจทย์ : ศาสนาและความเชื่อ
Key  Questions
-  ศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมต้องมีศาสนา แล้วทำไมคนจึงไม่นับถือศาสนาเดียวกัน
- เชื่อหรือไม่ว่าการมีศาสนานับถือจะช่วยให้คนเป็นคนดี เพราะอะไร
- แต่ละศาสนามีอะไรที่เหมือนกันหรือมีส่วนคล้ายกันและคล้ายกันอย่างไร

- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น นักเรียนคิดว่าศาสนาเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมต้องมีศาสนา แล้วทำไมคนจึงไม่นับถือศาสนาเดียวกัน
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อตอบคำถามผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลัทธิ ความเชื่อ ศาสนาต่างๆที่มีคนนับถือ เช่น พุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู สิกข์ ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ ไซโลอัสเตอร์ ฯลฯ
- นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้ามาจัดกระทำในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น ชาร์ตความรู้  Flow Chart  ฯลฯ และนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ ด้านหน้าอาคารประถมฯ
- ครูให้นักเรียนแสดงทรรศนะของตนเองต่อศาสนาและลัทธิความเชื่อผ่านเครื่องมือคิด Card  and  Cart จากคำถาม : เชื่อหรือไม่ว่าการมีศาสนานับถือจะช่วยให้คนเป็นคนดี เพราะอะไร
- ครูใช้เครื่องมือคิด Place Mat เพื่อให้นักเรียนสังเคราะห์ข้อมูลจากการเรียนรู้เกี่ยวกับศาสนาทั้งหมด จากคำถาม : แต่ละศาสนามีอะไรที่เหมือนกันหรือมีส่วนคล้ายกันและคล้ายกันอย่างไร
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ผ่านชิ้นงาน “บทความเกี่ยวกับศาสนา”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7

ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับศาสนา
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนาผ่านเครื่องมือคิด Card  and  Cart / Place Mat /บทความ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  7

ภาระงาน
- การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อศาสนาและการวางแผนการทำงาน
- การเตรียมนำเสนองาน
- การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนาผ่านเครื่องมือคิด Card  and  Cart / Place Mat /บทความ


- กระดาษขนาด 80 ปอนด์
- สี / ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- กระดาษสีขนาด ¼ ของกระดาษ A4

8
7– 10.. 2557
โจทย์ : เศรษฐศาสตร์และการปกครอง
Key  Questions
- ทำไมอาหารถึงราคาแพงขึ้น
- ทำไมร้านสะดวกซื้อ เช่น เทสโก้โลตัส / 7-eleven / Big C จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วและจะส่งผลอย่างไร
- ทำไมคนผิวดำถึงถูกกีดกันสิทธิ์
- ทำไมคนที่อยากเป็นผู้นำต้องใช้เงินซื้อเสียง


- ครูให้นักเรียนดูคลิปเกี่ยวกับประเทศซิมบับเว ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา ที่ในอดีตมีเคยเป็นประเทศที่ฐานะค่อนข้างดีมาก มีทรัพยากรที่สำคัญเช่นเพชร พลอย แร่แพลทินัม และสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามเช่นน้ำตกวิคตอเรีย แต่เนื่องจากการเข้าร่วมสงครามเพื่อแย่งชิงพื้นที่ของประเทศคองโกและการปกครองของคณะรัฐบาลที่มีการใช้นโยบายประชานิยม การคอร์รัปชั่นทำให้เศรษฐกิจเกิดภาวะถดถอย ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ และค่าเงินเฟ้อพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง
- หลังจากดูคลิปครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น นักเรียนเห็นอะไรบ้าง รู้สึกสึกอย่างไร ได้ข้อคิดอะไรบ้าง และถ้าเป็นผู้นำประเทศนักเรียนจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
- ครูให้นักเรียนดูคลิปเกี่ยวกับ “ประเทศกรีซ” และ “สาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยประสบกับภาวะฟองสบู่แตกเมื่อปี พ..2540
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไร และนักเรียนคิดว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่แตกเมื่อปี พ..2540
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8

ชิ้นงาน
- สรุปจากการดูคลิปประเทศซิมบับเว
- การนำเสนองาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  8

ภาระงาน
- การตอบคำถามและการสรุปสิ่งที่ได้จากการดูคลิป
- การวางแผนการทำงาน
- การสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  8

- คลิปเกี่ยวกับ 
“ประเทศซิมบับเว” “ประเทศกรีซ” และ “สาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยประสบกับภาวะฟองสบู่แตกเมื่อปี พ..2540
- กระดาษบรู๊ฟ
- สี / ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต


9
14– 18.. 2557
โจทย์ : ปัญหาในอนาคตและการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
Key  Questions
- เราจะเตรียมรับมือกับปัญหาในอนาคตอย่างไร
- นักเรียนจะสรุปสิ่งที่ตนเองรู้และเข้าใจในรูปแบบที่น่าสนใจได้อย่างไร
Round Rubin
ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของโลกในอนาคตผ่านเครื่องมือคิด
Place Mat
หาทางออกหรือแนวทางแก้ไขปัญหาในโลกอนาคต
- ครูให้นักเรียนดูคลิปเกี่ยวกับประเทศเอธิโอเปียซึ่งเป็นรายการ พื้นที่ชีวิต ตอน ชนพื้นเมืองแห่งหุบเขาโอโม่ ซึ่งทาง ภาคใต้ของเอธิโอเปีย บริเวณหุบเขาโอโม่ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 80 เผ่า มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง มีชีวิตแบบดั้งเดิม พึ่งพาธรรมชาติและการเลี้ยงสัตว์ ยูเนสโก้ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่มรดกโลกทางวัฒนธรรม ว่ากันว่า วิถีชีวิตของชนเผ่าเหล่านี้ ใกล้เคียงกับวิถีชีวิตมนุษย์ยุคแรกๆ ของโลกที่เลิกเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์และอยู่รวมกันเป็นชุมชน ทำให้ทุกวันนี้ นักมานุษยวิทยาจากทั่วโลกต่างเดินทางมาศึกษาวิถีชีวิตของพวกเขาเป็นจำนวนมาก ชนพื้นเมืองเหล่านี้ มีวิถีชีวิตแบบไหน พวกเขาเชื่อและศรัทธาในอะไร อนาคตจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อความเจริญทางวัตถุเข้ามา
- หลังจากดูคลิปครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น นักเรียนเห็นอะไรบ้าง รู้สึกสึกอย่างไร ได้ข้อคิดอะไรบ้าง โดยเขียนสรุปลงในสมุด
- ครูให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของโลกในอนาคตผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin และแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Place Mat
- นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิดใหม่คือ สายใยซึ่งมีลักษณะคล้ายสายใยอาหาร ทำให้สามารถมองเห็นความเชื่อมโยงของกิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น  และไม่จำเป็นต้องเป็นระเบียบ เพราะบางเรื่องอาจสัมพันธ์ และเชื่อมโยงได้กับหลายอย่าง 
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9

ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป รายการ พื้นที่ชีวิต ตอนชนพื้นเมืองแห่งหุบเขาโอโม่
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของโลกในอนาคตผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin และแสดงความคิดเห็นเพื่อหาทางออกร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด Place Mat
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ 1
ผ่านเครื่องมือคิด สายใย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  9

ภาระงาน
- การคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและแนวทางป้องกันแก้ไข
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ 1
ผ่านเครื่องมือคิด สายใย
- การสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9


- กระดาษบรู๊ฟ
- สี / ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- คลิปรายการ พื้นที่ชีวิต ตอน ชนพื้นเมืองแห่งหุบเขาโอโม่

10
21– 25.. 2557
โจทย์ : การสรุป เผยแพร่องค์ความรู้และประเมินตนเอง
Key  Questions
 - นักเรียนจะถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นรับรู้อย่างไรให้น่าสนใจโดยที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้
- อะไรที่นักเรียนทำได้ดีแล้ว อะไรที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้ง Quarter ที่ 1
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter 1 มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับการสรุปสิ่งที่เรียนรู้ตลอดทั้ง Quarter 1 เพื่อมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจโดยใช้เครื่องมือคิด Round Rubin
- นักเรียนวางแผนแบ่งหน้าที่สำหรับการนำเสนอและถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านรูปแบบที่น่าสนใจ และซ้อมการแสดงละคร และดนตรี
- นักเรียนนำเสนอและถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านรูปแบบการแสดงละครและดนตรี ที่น่าสนใจ
- ครูตั้งคำถาม “จากการเรียนรู้และทำงานร่วมกันนักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนร่วมกันประเมินตนเอง เช่นอะไรที่คิดว่าทำได้ดีแล้วและมีอะไรบ้างที่ตนเองควรพัฒนาเพิ่มเติม โดยจัดให้มีการเปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (AAR หลังเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครอง)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  10

ชิ้นงาน
- การจัดนิทรรศการและการแสดงละคร
- การประเมินตนเองหลังเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  10

ภาระงาน
- การวางแผนและการซ้อมแสดงละครและดนตรี
- การประเมินตนเอง
- การเปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ถอดบทเรียน)

- บรรยากาศในห้องเรียน
- นิทรรศการ
- ชุดและอุปกรณ์การแสดง
- เครื่องดนตรี



สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ PBL (Problem Based Learning) Topic : The Continent” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 Quarter 1 / 2557
สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากรู้
- รู้ว่าทวีปมี 7 ทวีป
- รู้ว่าประเทศไทยอยู่ในทวีปเอเชีย
- รู้ว่าทวีปเอเชียใหญ่ที่สุด
- รู้ว่าทวีปเอเชียมีประชากรมากที่สุด
- ญี่ปุ่นเคยโดนคลื่นยักษ์ถล่ม
- ประเทศรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก
- อีกไม่นานประชากรโลกจะถึงหมื่นล้าน
- รัสเซียเป็นประเทศที่เชื่อมทวีปเอเชียกับยุโรป
- ในยุโรปมีประเทศที่มีแสงอาทิตย์ในตอนกลางคืน
- คนในแอฟริกามีคนที่อดอยากจำนวนมาก
- แคนาดาอยู่ในทวีปอเมริกา
- ประเทศอังกฤษ สวีเดน อยู่ในทวีปยุโรป
- ทวีปออสเตรเลียเล็กที่สุด
- แต่ละทวีปมีภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน
- แต่ละประเทศมีภาษาและวัฒนธรรมทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
- ประเทศโบลิเวียอยู่ในทวีปแอฟริกา
- ประเทศอินเดียมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
- คิวบาอยู่ในอเมริกาเหนือ
- ทวีปยุโรปส่วนมากจะใช้เงินสกุลยูโร
- ทำไมอาหารถึงราคาแพงขึ้น
- ทำไมบางประเทศจึงประสบปัญหาร้อนจัด หนาวจัด แห้งแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ
- เหตุการณ์ในอดีตส่งผลต่อปัจจุบันอย่างไร
- ทำไมปัญหาความขัดแย้งในบางประเทศเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
- ทำไมคนมีสุขภาพกายใจแย่ลง ทั้งที่มีเทคโนโลยีเจริญมากขึ้น
- ทำไมราคาทองคำลดลง
- ทำไมน้ำมันถึงขึ้นราคาบ่อยๆ
- ทำไมคนผิวดำถึงถูกกีดกันสิทธิ์
- ทำไมเราถึงเลือกนับถือศาสนาเองไม่ได้ ทำไมต้องเลือกตามพ่อแม่
- ทำไมคนที่อยากเป็นผู้นำต้องใช้เงินซื้อเสียง
- ทำไมร้านสะดวกซื้อ เช่น เทสโก้โลตัส / 7-eleven / Big C จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วและจะส่งผลอย่างไร
- ทำไมต้องมีอาเซียน
- ทำไมพื้นที่ภาคเหนือจึงเกิดแผ่นดินไหว
- อนาคตจะมีคนเรียนจบจำนวนมากเราจะเตรียมตัวอย่างไร
- ทำไมประเทศแถบยุโรปจึงมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี
- อนาคตจะมีภัยธรรมชาติอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้น
- ทำไมโลกจึงมีหลายศาสนา
- ทำไมไม่ใช้เงินสกุลเหมือนกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น