เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย The Continent เป้าหมาย(Understanding Goals) :
- เข้าใจและยอมรับถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาวัฒนธรรม และเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันในสังคมโลกอย่างสันติสุข
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภารดรภาพและยอมรับความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง
- เข้าใจลักษณะทางกายภาพของแต่ละแห่งของโลกและเห็นความสัมพันธ์ของลักษณะทาง กายภาพกับการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร
- เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น เรียนรู้เรื่องราวในอดีตเพื่อนำไปสู่ความอ่อนน้อมต่อบุคคลและสรรพสิ่ง
- เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและมี อยู่อย่างจำกัด สามารถจัดสรรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
- เข้าใจบทบาทของตัวละคร เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมโลก

week5



เป้าหมายรายสัปดาห์  : สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้ง
Week
Input
Process
Out put
Outcome
5




14-18 มิ.. 2557
โจทย์ : ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
Key  Questions
- ทำไมปัญหาความขัดแย้งในสังคมจึงมีมากขึ้นและจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
- การลดความขัดแย้งมีวิธีไหนบ้างและจะสร้างสัมพันธภาพอย่างไรเครื่องมือคิด
Show and Share
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังจากการนำเสนองาน
Round Robin
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และแนวทางแก้ไข
สุนทรียะสนทนา
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “ใช้สื่ออย่างไรให้รู้เท่าทัน”
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้ง
- สี / ปากกาเคมี / กระดาษ 80 ปอนด์
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน

วันจันทร์ อังคาร
ชง :
 - ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมปัญหาความขัดแย้งในสังคมจึงมีมากขึ้นและจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
- ครูนำข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นประจำวันในสังคม มาให้นักเรียนอ่าน โดยให้นักเรียนจับกลุ่มวิเคราะห์ข่าว ในประเด็นต่างๆ เช่น จากข่าวที่อ่านนักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรบ้าง คิดว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไร  และจะมีวิธีการหรือแนวทางแก้ไขอย่างไร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลมาจัดกระทำในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น ชาร์ต Flow Chart และนำเสนอต่อคุณครูแลเพื่อนๆร่วมชั้นเรียน
วันพฤหัสบดี
ชง :
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  “การลดความขัดแย้งมีวิธีไหนบ้างและจะสร้างสัมพันธภาพอย่างไร
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
เชื่อม :
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้ง
- แต่ละกลุ่มนำข้อมูลมาจัดกระทำในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น ชาร์ต Flow Chart หรือรูปแบบอื่นๆตามความสนใจ
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติที่น่านใจ
วันศุกร์
ชง :
- ครูนำและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่ทำตลอดทั้งสัปดาห์
- ครูยกตัวอย่างสถานการณ์ความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นในชั้นเรียนและตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น ถ้านักเรียนเป็นเพื่อนคนนั้นนักเรียนจะรู้สึกอย่างไรและจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ใช้ :
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้งในรูปแบบ “บทความ”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

ชิ้นงาน
- วิเคราะห์ข่าวที่มีสาเหตุจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม
- ศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้งในรูปแบบ “บทความ”
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

ภาระงาน
- การวิเคราะห์ข่าวที่มีสาเหตุจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม
- การวางแผนการทำงาน
- การเตรียมการแสดง
ความรู้ :
ปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้ง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่เหมาะสม
- ใช้อุปกรณ์ในการทำงานและเก็บเข้าที่
ทักษะการสื่อสาร
 พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและนำเสนอจากการค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
การออกแบบชิ้นงานและรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพและหัวข้อที่สนใจ
คุณลักษณะ :
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น



วิเคราะห์ข่าวปัญหาสังคมกับความขัดแย้ง







บทความเกี่ยวกับความขัดแย้ง







สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์










1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 5 ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 4 ที่เด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความขัดแย้ง ซึ่งอาจดูเป็นเรื่องที่ไกลตัวเด็กๆไปบ้าง สัปดาห์นี้ครูได้แบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม และนำข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวให้เด็กๆได้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ส่งผลต่อทั้งตนเองและผู้อื่นอย่างไรบ้าง และส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไร ซึ่งพบว่านักเรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ดี แต่ละกลุ่มได้นำเสนอปัญหาความขัดแย้งจากข่าวที่พบในชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้นักเรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ภายหลังสิ้นสุดกิจกรรมก็ได้มีการสะท้อนการทำงาน ซึ่งการทำงานกลุ่มทุกครั้งก็จะมีปัญหาความขัดแย้งขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นเสมือนปัญหา ซ้อนปัญหาอีกครั้ง
    นอกจากนี้เพื่อให้นักเรียนได้เห็น รูปแบบของความขัดแย้งที่ชัดเจนขึ้น ครูจึงให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการลดความขัดแย้ง และนำมาแลกเปลี่ยนกันในวงสนทนา หลังจากนั้นครูได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นในชั้นเรียนและตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น ถ้านักเรียนเป็นเพื่อนคนนั้นนักเรียนจะรู้สึกอย่างไรและจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่านักเรียนเริ่มมองเห็นรูปแบบ(Pattern)ของปัญหา และแนวทางแก้ไขหรือทางออกของปัญหาที่ชัดเจนขึ้น และเพื่อให้นักเรียนได้ขมวดความเข้าใจที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ ครูจึงให้นักเรียนสรุปความเข้าใจในรูปแบบ บทความ ซึ่งนักเรียนก็สามารถสื่อออกมาได้ดี ตลอดสัปดาห์นี้พี่ๆชั้นป.6 ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมากครับ

    ตอบลบ