เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย The Continent เป้าหมาย(Understanding Goals) :
- เข้าใจและยอมรับถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาวัฒนธรรม และเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันในสังคมโลกอย่างสันติสุข
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภารดรภาพและยอมรับความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง
- เข้าใจลักษณะทางกายภาพของแต่ละแห่งของโลกและเห็นความสัมพันธ์ของลักษณะทาง กายภาพกับการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร
- เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น เรียนรู้เรื่องราวในอดีตเพื่อนำไปสู่ความอ่อนน้อมต่อบุคคลและสรรพสิ่ง
- เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและมี อยู่อย่างจำกัด สามารถจัดสรรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
- เข้าใจบทบาทของตัวละคร เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมโลก

week4



เป้าหมายรายสัปดาห์  : สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสามารถอธิบายสาเหตุของความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
Week
Input
Process
Out put
Outcome
       4  




7-11 มิ.. 2557
โจทย์ : ประวัติศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
Key  Questions
- ทำไมปัญหาความขัดแย้งในบางประเทศเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
- การเกิดสงครามและความขัดแย้งมีสาเหตุมาจากปัจจัยใดบ้างและมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
- เหตุการณ์ในอดีตส่งผลต่อปัจจุบันและอนาคตอย่างไร
เครื่องมือคิด
Round Rubin
การร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟังและจากคำถาม
Card and Chart
วิเคราะห์วาระซ่อนเร้น บิดเบือนที่เป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งและนำมาซึ่งความสูญเสียจาก สารคดีรายการพื้นที่ชีวิต ตอน รอยเลือดที่ระวันดา
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- คลิปรายการพื้นที่ชีวิต ตอน รอยเลือดที่ระวันดา
- กระดาษบรู๊ฟ
- กระดาษขนาด A3
- กระดาษ ขนาด ¼ ของ A4

วันจันทร์ อังคาร
ชง :
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ทั้งในระดับบุคคล และระดับประเทศ
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ทำไมปัญหาความขัดแย้งในบางประเทศเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นและการเกิดสงครามหรือความขัดแย้งมีสาเหตุมาจากปัจจัยใดบ้างและมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากคำถาม
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับกรณีความขัดแย้งที่ตนเองรู้จัก เช่น ญี่ปุ่นกับจีน  ไทยกับกัมพูชา  เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้  สหรัฐอเมริกากับซีเรีย เวียดนามกับจีน เป็นต้น
- ครูให้นักเรียนจับคู่เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของคู่กรณีของประเทศต่างๆ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สาเหตุของความขัดแย้งและผลที่เกิดขึ้น
- นักเรียนแต่ละคู่วางแผนการทำงานร่วมกันและนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบชาร์ตความรู้หรือรูปแบบอื่นตามความเหมาะสม
ใช้ :
นักเรียนแต่ละคู่นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายต่อคุณครูและเพื่อนๆ ในชั้นเรียน
วันอังคาร
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้น
- ครูให้นักเรียนดูคลิปสารคดีรายการพื้นที่ชีวิต ตอน “รอยเลือดที่ระวันดา”
เชื่อม :
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนเห็นอะไรบ้าง รู้สึกอย่างไร นักเรียนคิดว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของสงครามและจะแก้ไขด้วยวิธีไหนได้บ้าง และนักเรียนคิดว่า ทำไมปัญหาความขัดแย้งในบางประเทศเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และนักเรียนคิดว่าเหตุการณ์ในอดีตส่งผลต่อปัจจุบันอย่างไร
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นหลังจากการดูคลิป
- ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์วาระซ่อนเร้น บิดเบือนที่เป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งและนำมาซึ่งความสูญเสียจาก สารคดีรายการพื้นที่ชีวิต ตอน รอยเลือดที่ระวันดา โดยใช้เครื่องมือคิด  Card and Chart
ใช้:
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปและทำกิจกรรมในรูปแบบ บทความ หรือ Flow Chart

วันพฤหัสบดี
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดว่า ถ้าปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นกับนักเรียน นักเรียนจะมีวิธีการจัดการอย่างไร
เชื่อม :
นักเรียนระดมความคิดการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้เครื่องมือคิด Card and Chart
ใช้ :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้
จากกิจกรรมระดมความคิดการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้เครื่องมือคิด Round Rubin
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป รอยเลือดที่ระวันดา
- ชาร์ตความขัดแย้งของประเทศต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  4
ภาระงาน
- การค้นคว้าข้อมูลปัญหาความขัดแย้งในประเทศต่างๆ
- การวางแผนการทำงาน
- การนำเสนองาน
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  4
ความรู้ :
ประวัติศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพทักษะ :
 ทักษะชีวิต
สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่เหมาะสม
- ใช้อุปกรณ์ในการทำงานและเก็บเข้าที่
ทักษะการสื่อสาร
 พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและนำเสนอจากการค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
การออกแบบชิ้นงานและรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพและหัวข้อที่สนใจ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาโดยใช้กระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น



สรุปสงครามของประเทศคู่กรณีและความขัดแย้งที่เกิดขึ้น










นิทานเกี่ยวกับความขัดแย้ง

สรปการเรียนรู้รายสัปดาห์






1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 4 นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นการเรียนรู้ผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้งของประเทศต่างๆ โดยครูให้นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับกรณีความขัดแย้งที่ตนเองรู้จัก เช่น ญี่ปุ่นกับจีน ไทยกับกัมพูชา เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกากับซีเรีย เวียดนามกับจีน เป็นต้น ซึ่งนักเรียนส่วนมากต่างเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งของประเทศคู่กรณีต่างๆ ที่เพื่อนๆ ได้ระดมความคิดร่วมกัน หลังจากนั้นได้ให้นักเรียนจับคู่เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับกรณีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของคู่กรณีของประเทศต่างๆ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สาเหตุของความขัดแย้งและผลที่เกิดขึ้น ในเชิงลึกมากขึ้น ซึ่งเด็กๆมีความสนใจและให้ความร่วมมือดีมาก หลังจากนั้นครูจึงให้นักเรียนแต่ละคู่ซ้อมนำเสนองานและนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายต่อคุณครูและเพื่อนๆ ในชั้นเรียน วันต่อมาได้ให้นักเรียนแต่ละคน ครูให้นักเรียนดูคลิปสารคดีรายการพื้นที่ชีวิต ตอน “รอยเลือดที่ระวันดา” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของคนภายในชาติเของประเทศระวันดา คือเผ่าฮูตูและตุสซี่ โดยมีรัฐบาลของประเทศเบลเยียมคอยชักใยอยู่เบื้องหลังเพราะมีผลประโยชน์เป็นสิ่งจูงใจ ซึ่งนักเรียนสนใจดูมาก และเชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกไม่ต่างกัน คือรู้สึกหดหู่ที่มีการสูญเสีย และครูจึงลองถามนักเรียนว่า นักเรียนคิดว่าปัญหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ ระวันดามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง นักเรียนเกือบทุกคนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เกิดจากการแบ่งแยก และผลประโยชน์ หลังจากนั้นครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นการคิดว่า ถ้าปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นกับนักเรียน นักเรียนจะมีวิธีการจัดการอย่างไรโดยครูใช้เครื่องมือคิดคือ Card and Chart นักเรียนแต่ละคนต่างแสดงทัศนะในการแก้ปัญหาที่ตกต่างกัน เช่น การให้อภัย การใช้เหตุผลตัดสิน การไม่ใช้กำลังและอารมณ์ ใช้การประนีประนอม หรือบางคนมองว่าควรมีคนกลางในการไกล่เกลี่ยให้ ซึ่งทุกความคิดถือว่า มีส่วนถูกทั้งหมด ครูเองก็ไม่ได้ตัดสินว่าวิธีไหนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ก็เชื่อว่าเมื่อเด็กๆ ได้ผ่านกระบวนการคิดเหล่านี้และได้เห็นความคิดของเพื่อนๆหลายๆคนเขาจะได้เห็นมุมมองในการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายมิติมากขึ้น หลังจากนั้นครูและนักเรียนได้ร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ และให้นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4 โดยภาพรวมแล้วพี่ๆชั้น ป.6 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ รวมทั้งสามารถอธิบายสาเหตุของความขัดแย้งและแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีที่หลากหลายได้

    ตอบลบ