เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย The Continent เป้าหมาย(Understanding Goals) :
- เข้าใจและยอมรับถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาวัฒนธรรม และเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันในสังคมโลกอย่างสันติสุข
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภารดรภาพและยอมรับความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง
- เข้าใจลักษณะทางกายภาพของแต่ละแห่งของโลกและเห็นความสัมพันธ์ของลักษณะทาง กายภาพกับการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร
- เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น เรียนรู้เรื่องราวในอดีตเพื่อนำไปสู่ความอ่อนน้อมต่อบุคคลและสรรพสิ่ง
- เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและมี อยู่อย่างจำกัด สามารถจัดสรรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
- เข้าใจบทบาทของตัวละคร เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมโลก

week2


เป้าหมายรายสัปดาห์  : สามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้และการทำงานตามความความสนใจได้อย่างเป็นขั้นตอนและน่าสนใจ
Week
Input
Process
Out put
Outcome
2




19 - 23 .. 2557
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้

เครื่องมือคิด
Brainstorms
การร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟังและจากคำถาม
Show and Share
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์
Mind Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษบรู๊ฟ/กระดาษชาร์ตสี
- สี/ปากกาเคมี
- ห้องสมุด
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ 80 ปอนด์

วันจันทร์ อังคาร
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็น
- ครูให้นักเรียนจับคู่เพื่อดูและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์
- นักเรียนแต่ละคู่ได้ข้อสรุปร่วมกันและให้แต่ละคู่รวมกลุ่ม 3 คู่ (กลุ่มละ 6 คน)เพื่อดูและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนรู้ ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์อีกครั้ง
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำเสนอสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างไรให้น่าสนใจ
เชื่อม :
- นักเรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 10 สัปดาห์ และหลอมรวมปฏิทินการเรียนรู้ทั้ง 10 สัปดาห์อีกครั้ง
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้อะไรแล้วและอยากเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับสุขภาพ

ใช้ :
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้
- นักเรียนเขียน Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้ (ทบทวนความรู้เดิม)
วันพฤหัสบดี ศุกร์
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะจัดสรรหน้าที่อย่างไรให้ได้ปฏิทินการเรียนรู้ที่ชัดเจน ง่ายต่อการดูเพื่อทบทวนกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้ง 10 สัปดาห์”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอวิธีการทำงานร่วมกันให้เสร็จสมบูรณ์
ใช้:
- นักเรียนทุกคนร่วมกันทำปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง  10 สัปดาห์และตกแต่งห้องเพิ่มเติมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น จัดมุมหนังสือที่เกี่ยวกับหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจอยากเรียน  วาดภาพ  เขียนชื่อหน่วยที่เลือกหน้าชั้นเรียน เป็นต้น
- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจก่อนเรียนในรูปแบบ Mind Mapping
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  2

ภาระงาน
การวางแผนการทำปฏิทินการเรียนรู้10สัปดาห์
- การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
- การนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้

ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว  Mind mapping และสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ตลอด 10สัปดาห์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่น สี กระดาษ กรรไกร
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ก่อนเรียน
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น













1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่สองของการเรียนรู้ หลังจากที่นักเรียนได้หัวข้อและตั้งชื่อหน่วยในสัปดาห์ที่ผ่านมา สัปดาห์นี้ก็จะเป็นการวางแผนการเรียนรู้ โดยคุณครูได้ให้นักเรียนเขียนสิ่งที่ตนเองรู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ตนเองได้เลือกไว้ สิ่งที่นักเรียนรู้แล้วส่วนมากจะเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และเด็กๆบางคนบอกว่าไม่มีความรู้เกี่ยวกับทวีปเลย ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลง่ายๆ เช่น - รู้ว่าทวีปมี 7 ทวีป - รู้ว่าประเทศไทยอยู่ในทวีปเอเชีย – รู้ว่าทวีปเอเชียใหญ่ที่สุด – รู้ว่าทวีปเอเชียมีประชากรมากที่สุด – ญี่ปุ่นเคยโดนคลื่นยักษ์ถล่ม – ประเทศรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก - อีกไม่นานประชากรโลกจะถึงหมื่นล้าน – รัสเซียเป็นประเทศที่เชื่อมทวีปเอเชียกับยุโรป - ในยุโรปมีประเทศที่มีแสงอาทิตย์ในตอนกลางคืน - คนในแอฟริกามีคนที่อดอยากจำนวนมาก – แคนาดาอยู่ในทวีปอเมริกา - ประเทศอังกฤษ สวีเดน อยู่ในทวีปยุโรป – ทวีปออสเตรเลียเล็กที่สุด – แต่ละทวีปมีภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน - แต่ละประเทศมีภาษาและวัฒนธรรมทั้งส่วนที่เหมือนกันและแตกต่างกัน - ประเทศโบลิเวียอยู่ในทวีปแอฟริกา – ประเทศอินเดียมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น - คิวบาอยู่ในอเมริกาเหนือ – ทวีปยุโรปส่วนมากจะใช้เงินสกุลยูโร ส่วนสิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น - ทำไมอาหารถึงราคาแพงขึ้น - ทำไมบางประเทศจึงประสบปัญหาร้อนจัด หนาวจัด แห้งแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ – เหตุการณ์ในอดีตส่งผลต่อปัจจุบันอย่างไร – ทำไมปัญหาความขัดแย้งในบางประเทศเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น - ทำไมคนมีสุขภาพกายใจแย่ลง ทั้งที่มีเทคโนโลยีเจริญมากขึ้น - ทำไมราคาทองคำลดลง - ทำไมน้ำมันถึงขึ้นราคาบ่อยๆ - ทำไมคนผิวดำถึงถูกกีดกันสิทธิ์ - ทำไมเราถึงเลือกนับถือศาสนาเองไม่ได้ ทำไมต้องเลือกตามพ่อแม่ – ทำไมคนที่อยากเป็นผู้นำต้องใช้เงินซื้อเสียง - ทำไมร้านสะดวกซื้อ เช่น เทสโก้โลตัส / 7-eleven / Big C จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วและจะส่งผลอย่างไร – ทำไมต้องมีอาเซียน - ทำไมพื้นที่ภาคเหนือจึงเกิดแผ่นดินไหว – อนาคตจะมีคนเรียนจบจำนวนมากเราจะเตรียมตัวอย่างไร – ทำไมประเทศแถบยุโรปจึงมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี – อนาคตจะมีภัยธรรมชาติอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้น – ทำไมโลกจึงมีหลายศาสนา – ทำไมไม่ใช้เงินสกุลเหมือนกัน
    หลังจากที่เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เสร็จแล้วครูจึงให้นักเรียนนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาจัดหมวดหมู่ว่าควรอยู่ในหัวข้อใด เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม การเมืองการปกครอง/กฎหมาย และปัญหาในโลกอนาคต หลังจากนั้นครูได้ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อจัดลำดับเรื่องที่จะเรียนก่อนหลังและเขียนลงในปฏิทินการเรียนรู้ และนำเสนอให้ครูและเพื่อนร่วมชั้นเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบว่าจะมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้างและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สำหรับเพิ่มเติมกิจกรรมบางอย่างตามความเหมาะสม ซึ่งการเรียนในสัปดาห์นี้เป็นไปอย่างราบรื่นและได้รับความร่วมมือจากเด็กๆเป็นอย่างดี หลังจากนั้นครูและนักเรียนได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ และนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ 2

    ตอบลบ