เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย The Continent เป้าหมาย(Understanding Goals) :
- เข้าใจและยอมรับถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาวัฒนธรรม และเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยกันในสังคมโลกอย่างสันติสุข
- สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างภารดรภาพและยอมรับความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่นและตนเอง
- เข้าใจลักษณะทางกายภาพของแต่ละแห่งของโลกและเห็นความสัมพันธ์ของลักษณะทาง กายภาพกับการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร
- เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น เรียนรู้เรื่องราวในอดีตเพื่อนำไปสู่ความอ่อนน้อมต่อบุคคลและสรรพสิ่ง
- เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและมี อยู่อย่างจำกัด สามารถจัดสรรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
- เข้าใจบทบาทของตัวละคร เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมโลก

week6


เป้าหมายรายสัปดาห์  : สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น การสร้างสรรค์วัฒนธรรม ความเชื่อที่แตกต่าง
Week
Input
Process
Out put
Outcome
6




23-27 มิ.. 2557
โจทย์ : ภูมิศาสตร์โลก
Key  Questions
- ทำไมพื้นที่ภาคเหนือจึงเกิดแผ่นดินไหว
- ทำไมบางประเทศจึงประสบปัญหาร้อนจัด หนาวจัด แห้งแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ
เครื่องมือคิด
Show and Share
ผ่านชาร์ต และการแสดงละคร
Round Robin
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และแนวทางแก้ไข
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
 - กระดาษบรู๊ฟ
- สี / ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต

วันจันทร์อังคาร
ชง :
- ครูนำข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวทางภาคเหนือของไทยให้ตัวแทนนักเรียนอ่านและสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น “ ทำไมพื้นที่ภาคเหนือของไทยจึงเกิดแผ่นดินไหวและทำไมบางประเทศจึงประสบปัญหาร้อนจัด หนาวจัด แห้งแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากคำถาม
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่มและเลือกศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับทวีปต่างๆ ทั้ง 6 ทวีป คือ ทวีปเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอฟริกา
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการทำงานร่วมกัน ลงมือศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น ชาร์ต Flow Chart หรือ Mind Mapping
ใช้ :
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น อธิบายผ่านชาร์ต การละครและบทบาทสมมติเป็นต้น
- นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับทั้ง 6 ทวีปในรูปแบบที่ตนเองสนใจ เช่น ชาร์ต หรือ Mind Mapping
วันพฤหัสบดี
ชง :
ครูตั้งคำถามชวนคิด เช่น ทำไมต้องมีการแบ่งประเทศและทำไมถึงมีหลายศาสนา
เชื่อม :
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
วันศุกร์
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด จากกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์นักเรียนได้เรียนรู้อะไร
 เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้เรียนรู้และกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้ :
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับทวีปต่างๆในรูปแบบต่างๆ เช่น ชาร์ต Flow Chart หรือ Mind Mapping (งานกลุ่ม/งานเดี่ยว)
- การนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น อธิบายผ่านชาร์ต การละครและบทบาทสมมติเป็นต้น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  6

ภาระงาน
- การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับทวีปต่างๆในรูปแบบต่างๆ เช่น ชาร์ต Flow Chart หรือ Mind Mapping (งานกลุ่ม/งานเดี่ยว)
- การวางแผนการทำงาน
- การนำเสนองาน
- การเปิดวงสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(ถอดบทเรียน)

ความรู้ :
ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น การสร้างสรรค์วัฒนธรรม ความเชื่อที่แตกต่าง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่เหมาะสม
- ใช้อุปกรณ์ในการทำงานและเก็บเข้าที่
ทักษะการสื่อสาร
 พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและนำเสนอจากการค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
การออกแบบชิ้นงานและรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก ความขัดแย้งและการสร้างสัมพันธภาพและหัวข้อที่สนใจ
คุณลักษณะ :
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น












1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 6 ของการเรียนรู้ พี่ๆ ชั้น ป.6 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก โดยมีเป้าหมายคือ สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น การสร้างสรรค์วัฒนธรรม ความเชื่อที่แตกต่าง โดยครูได้เริ่มต้นจากการนำข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวทางภาคเหนือของไทยให้ตัวแทนนักเรียนอ่านและสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ซึ่งนักเรียนต่างสนใจเหตุการณ์นี้ เพราะจากสถิติพบว่าแทบจะไม่มีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงระดับนี้ในประเทศไทยมาก่อน จากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น “ ทำไมพื้นที่ภาคเหนือของไทยจึงเกิดแผ่นดินไหวและทำไมบางประเทศจึงประสบปัญหาร้อนจัด หนาวจัด แห้งแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ” ซึ่งนักเรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย แต่ก็มีส่วนที่คล้ายกันคือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่นภาวะโลกร้อนหรือการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ฯลฯ ซึ่งครูได้เชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาที่สำคัญในสัปดาห์นี้คือ ภูมิศาสตร์โลก โดยครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่มและเลือกศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับทวีปต่างๆ ทั้ง 6 ทวีป คือ ทวีปเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอฟริกา จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนการทำงานร่วมกัน ลงมือศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น ชาร์ต Flow Chart หรือ Mind Mapping นำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น อธิบายผ่านชาร์ต การละครและบทบาทสมมติเป็นต้น ซึ่งบรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างสนุก เพราะนักเรียนแต่ละกลุ่มได้เลือกกลุ่มด้วยตนเองและได้แบ่งหน้าที่กันช่วยให้การทำงานราบรื่นดี หลังจากนั้นเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นครูจึงให้นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับทั้ง 6 ทวีปในรูปแบบที่ตนเองสนใจ เช่น ชาร์ต หรือ Mind Mapping วันต่อมาครูตั้งคำถามชวนคิด เช่น ทำไมต้องมีการแบ่งประเทศและทำไมถึงมีหลายศาสนา ซึ่งนักเรียนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin นักเรียนหลายคนตอบได้ดีมาก หลังจากนั้นครูและนักเรียนได้ร่วมกันสะท้อนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้เรียนรู้และกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ สัปดาห์นี้นักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีครับ

    ตอบลบ